Melody CodeMouse

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สื่อการสอน

สื่อการสอน

ความแข็งของวัสดุ คุณครูอาทิตยา นุราฤทธิ์ รร.อนุบาลปรินายก
  โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วัสดุในชีวิตประจำวัน ซึ่งจำแนกได้เป็นวัสดุธรรมชาติ และวัสดุสังเคราะห์ สมบัติของวัสดุในด้านความแข็ง และการใช้ประโยชน์ โดยศึกษาด้วยการใช้วิธีการสืบสอบ รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และการใช้คำถาม และประเมินตามสภาพจริง

งานวิจัย

งานวิจัย















บันทึกการเรียน ครั้งที่ 17

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 17
ชดเชย วันจันทร์ ที่ 28 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.00 - 16.30 น.

เนื้อหาการเรียน
      วันนี้อาจารย์ให้กลุ่มที่เหลือสอนหน่วยการเรียนของกลุ่มตนเอง ดังนี้
วันศุกร์ หน่วยดอกไม้ เรื่องโทษ
วันอังคาร หน่วยอากาศรอบตัวฉัน เรื่องคุณสมบัติของอากาศ
วันพุธ หน่วยยานพาหนะ เรื่องปัจจัยการเคลื่อนที่





คำศัพท์
ดอกไม้ - Flower
อากาศ - Air
ปัจจัย - factor
ยานพหนะ - vehicle
วัน - Day

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้ที่ได้จากการแนะนำของอาจารย์ในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้

การประเมิน
      ความรู้จากคำแนะนำของอาจารย์เยอะมาก


บทความ

บทความ

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
       วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
       เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
         วิทยาศาสตร์หมายถึงการสืบค้นและอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ สภาพแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ หรือวิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ โดยได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีขั้นตอนและมีระเบียบแบบแผน ความรู้ของข้อมูลต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานและข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นจากการค้นพบใหม่ที่เป็นปัจจุบันและที่ดีกว่าคือ ตัวอย่างและข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สามารถทดสอบได้ มีขอบเขต มีระเบียบกฎเกณฑ์ มีการสังเกตการจดบันทึกการตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ วิทยาศาสตร์มีขอบข่ายการศึกษาค่อนข้างกว้างขวาง แต่โดยสรุปแล้วก็คือ การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งอาศัยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนเป็นระเบียบแบบแผนตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์พยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจและอธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา อันได้แก่ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่การกำหนดหลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏี อันเป็นรากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ศึกษาธรรมชาติและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แล้วสรุปเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ศึกษาความธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงาน จนได้มาเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นต้น
            Katz and Chard  อธิบายวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ว่า ทำให้เกิดความรู้ ทักษะต่างๆ การจัดการและ ความรู้สึก ความรู้ประกอบด้วย ความคิด ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดและสารสนเทศ ทักษะประกอบด้วย พฤติกรรมทางร่างกาย สังคม การสื่อสารและการแสดงออกทางปัญญาเช่น การเล่นและการทำงานคนเดียวหรือกับคนอื่นๆ การแสดงความคิดผ่านภาษาโดยการพูดและการเขียน การจัดการกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะนิสัยการทำงานด้วยความอดทน ความอยากรู้อยากเห็น การลงมือแสวงหาความรู้ด้วยการทดลองตามที่ได้วางแผนไว้ สนับสนุนให้ได้มาซึ่งความรู้ อัญชลี ไสยวรรณ(2547 :1-6 )กล่าวเพิ่มเติมว่ากิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกันเพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16
วันอังคาร ที่ 22 พฟศจิกายน 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
        อาจารย์ให้นั่งตามกลุ่มของเล่น จากนั้นตั้งประเด็นคำถามว่าของเล่นของแต่ละกลุ่ม ในแต่ละขั้นเกี่ยวข้องยังไงกับชีวิตประจำวันได้บ้าง นำคุณสมบัติมาใช้อะไรได้บ้าง จากนั้นเริ่มวิธีการสอน ถ้าสอนเด็กจะต้องทำอะไรก่อนหลัง  โดยสังแรกต้องให้สังเกตอุปกรณ์ จากนั้นครูตั้งสมมุติฐาน ประเด็นปัญหา และเริ่มกิจกรรม

คำศัพท์
อาจารย์ - professor
เด็ก - child
ครู - teacher
คุณสมบัติ - property
สังเกต - observe

การนำไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำการเรียนการสอนในวันนี้ ไปปรับใช้ในอนาคตได้

การประเมิน
      วันนี้ทุกคนต้องใจเรียนดี สามารถตอบคำถามได้ดี

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15
วันอังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
          วันนี้อาจารย์ให้สอนกิจกรรมตามหน่วยของกลุ่มตนเองที่ได้เลือกมาตามวัน ดังนี้
วันจันทร์ หน่วยผลไม้ ประเภทของผลไม้ คือแบ่งประเภทของผลไม้
วันอังคาร หน่วยไข่ ลักษณะของไข่  คือสังเกตส่วนประกอบของไข่
วันพุธ หน่วยต้นไม้ คุณสมบัติของต้นไม้ คือปลูกถั่วเขียว
วันพฤหัสบดี หน่วยปลา ประโยชน์ของปลา คือทำ cooking








คำศัพท์
ปลา - fish
ต้นไม้ - tree
ผลไม้ - fruit
การปรุงอาหาร - cooking
ถั่วเขียว - Green beans

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนทำและคำแนะนำของอาจารย์ในวันนี้ ไปใช้ปรับ ดัดแปลงในการเรียนการสอนในอนาคตได้

การประเมิน
      วันนี้สนุกและได้ความรู้จากกิจกรรมที่เพื่อนนำมามากมาย

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14
วันอังคาร ที่ 8 พฤศจิกายน 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
      เริ่มต้นการเรียนโดยอาจารย์ดูงานที่แก้ไขวีดีโองานของเล่น จากนั้นให้นั่งเป็นกลุ่มตามหน่วยการเรียน แล้วนำเสนองานหน่วยการเรียนของแต่ละกลุ่ม ตามรายวัน เพื่อปรับปรุงแก้ไข และอาจารย์ให้คำแนะนำ ก่อนออกมาสอนหน้าชั้นเรียน โดยมีกลุ่ม อากาศรอบตัวฉัน ผลไม้ ดอกไม้ ต้นไม้ ไข่ ปลา ยานพาหนะ โดยกลุ่มดิฉันมีดังนี้
วันจันทร์ ประเภท กิจกรรมการสอนคือเปิดภาพพร้อมบรรยาย
วันอังคาร คุณสมบัติ กิจกรรมการสอนคือให้สังเกตและวิเคราะห์คุณสมบัติของอากาศ
วันพุธ ปัจจัย กิจกรรมการสอนคือการเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดฤดูกาล
วันพฤหัสบดี ประโยชน์ กิจกรรมการสอนคือนิทาน ทำสิ่งประดิษฐ์ของอากาศ
วันศุกร์ ผลกระทบ กิจกรรมการสอนคือนิทานเรื่องผลกระทบ



รถพลังงานลม


ศัพท์
วันจันทร์ - Monday
วันอังคาร - Tuesday
วันพุธ - Wednesday
วันพฤหัสบดี - Thursday
วันศุกร์ - Friday

การนำไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำแผนการสอนของแต่ละกลุ่มไปปรับใช้ในการสอนในอนาคตได้

การประเมิน
       การเรียนวันนี้ตึงเครียดเล็กน้อย 

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13
วันอังคาร ที่ 1 พฤศจิกายน 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
      วันนี้เริ่มการเรียนโดยอาจารย์ดูวีดีโอวิธีการประดิษฐ์ของเล่นแต่ละกลุ่ม ดังนี้
1. หลอดมหัศจรรย์
2. รถพลังงานลมมหัศจรรย์
3. คานดีดจากไม้ไอติม
4. ขวดน้ำนักขนของ
        จากการที่เราจะทำอะไรนั้น เราต้องมีจุดประสงค์ว่าจะทำเพื่ออะไร เพื่อใคร จากนั้นอาจารย์สอนเนื้อหาการเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ภาษาเป็นเครื่องมือทบทวนงาน
ด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว สุขภาพอนามัย การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลง
ด้านอารมณ์ การแสดงออกทางอารมณ์
ด้านสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบ
ด้านสติปัญญา การคิด ภาษา
          จากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่มทำกิจกรรม Mind Mapping จากหน่วยการเรียนที่แต่ละกลุ่มทำ แล้วแยกสาระ ทักษะ มาตรฐานของแต่ละวิชาที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย และ 6 กิจกกรมหลัก โดยแยกกิจกรรมในแต่ละวัน



ศัพท์
แผนภูมิความคิด - Mind Mapping
ภาษา - Language
ทักษะ - skills
มาตรฐาน - standard
จุดประสงค์ - purpose

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการสอนได้ในอนาคต

การประเมิน
      การเรียนวันนี้มีความสับสน และไม่เข้าใจคำสั่งอาจารย์ในการทำกิจกรรมบ้าง



วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
      วันนี้อาจารย์คุยเรื่องบล็อกเกอร์ แล้วให้นักศึกษาออกมานำเสนองานชาร์ตหน่วยการเรียนที่ให้ไปปรับปรุง และพูดถึงการคัดไทยของนักศึกษาที่ควรฝึกไว้ เพื่อความสวยและคล่องแคล่ว โดยตัวพยัญชนะต้องเห็นลักษณะหัวกับตัวชัดเจน เพื่อเป็นแบบอย่างและเด็กเห็นเข้าใจง่าย จากนั้นก็เริ่มเนื้อหาการเรียนแล้วเชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนของแต่ละกลุ่ม โดยการใช้กราฟฟิกเปรียบเทียบขยายผล โดยมีกลุ่ม ผลไม้ ดอกไม้ ต้นไม้ ไข่ ยานพาหนะ อากาศรอบตัวฉัน และปลา







ศัพท์
ดอกไม้ - Flower
ปลา - fish
ต้นไม้ - tree
ผลไม้ - fruit
ยานพาหนะ - vehicle

การนำไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำหน่วยการเรียนของเพื่อนไปปรับใช้ในการสอนในอนาคตได้

การประเมิน
      วันนี้ทุกคนตั้งใจเรียนดี

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
      การเรียนวันนี้ อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มที่ปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ออกมานำเสนอ จากนั้นอาจารย์สอนเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการสอนบูรณาการและหน่วยการเรียนรู้เด็กปฐมวัย โดยการกำหนดหน่วยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ต้องเป็นที่ผลกระทบต่อเด็ก และเป็นสิ่งที่เด็กอยากรู้ 
      การสอนบูรณาการนั้น คือ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์หลายๆ วิชา หรือหน่วยที่เลือก ต้องเกี่ยวข้องกับสาระสำคัญและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
      จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ออกแบบและทำหน่วยการเรียนวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ โดยกลุ่มของดิฉันทำหน่วยอากาศรอบตัวฉัน โดยหน่วยของแต่ละกลุ่มมีดังนี้
กลุ่มที่หนึ่ง ยานพาหนะ
กลุ่มที่สอง ต้นไม้
กลุ่มที่สาม ผลไม้
กลุ่มที่สี่ ปลา
กลุ่มที่ห้า ไข่
กลุ่มที่หก ดอกไม้
กลุ่มที่เจ็ด อากาศรอบตัวฉัน








ศัพท์
ดอกไม้ - Flower
ปลา - fish
ต้นไม้ - tree
ผลไม้ - fruit
ยานพาหนะ - vehicle

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำหน่วยการสอนในวันนี้ไปปรับปรุงในการสอนได้

การประเมิน
     ทุกคนตั้งใจและร่วมมือกันทำงานกลุ่มอย่างมุ่งมั่น



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันอังคาร ที่ 11 ตุลาคม 2559
เวลา 08.330 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
      การเรียนวันนี้ อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แล้วให้นักศึกษาเขียนขั้นตอนการทำสิ่งประดิษฐ์ของตัวเองลงในกระดาษ แล้วนำไปติดหน้าชั้นเรียน จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน แล้วให้แต่ละกลุ่มวางแผนแล้วเลือกสิ่งประดิษฐ์ที่ดีที่สุดในกลุ่มมา 1 ชิ้น เพื่อนำไปทำกราฟฟิตเป็นเครื่องมือในการนำเสนอเป็นลำดับขั้นตอนไว้ใช้เป็นแนวการสอนเด็กปฐมวัย จากนั้นให้จับกลุ่ม 8 คน ร่วมกันวางแผนขั้นตอนการสอน พร้อมกับแบ่งหน้าที่ของทุกคนในกลุ่ม โดยกลุ่มของดิฉันเลือกรถพลังงานลม จากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอ

ขั้นตอนการวางแผนของกลุ่ม


ภาพกิจกรรม




ศัพท์
กราฟฟิต - Graphic
วางแผน - plan
เครื่องมือ - Tool
ขั้นตอน - Step
อุปกรณ์ - equipment

การนำไปประยุกต์
     สมารถนำขั้นตอนวิธีการสอนในวันนี้ไปปรับใช้ในการออกสอนปฏิบัติได้

การประเมิน
     ทุกคนตั้งใจเรียน และช่วยกันคิดงานของกลุ่มตัวเองอย่างแข็งขัน



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาชั้นปีที่ 5 มาสอนทำกิจกรรมทำ Cooking โดยให้นักศึกแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน โดยก่อนเริ่มกิจกรรมพาทำกิจกรรมร้องเพลงก่อน จากนั้นก็พาทำกิจกรรม Cooking ขนมปังทอดสอดไส้กล้วย โดยแนะนำอุปกรณ์ วิธีการทำ และสาธิตการทำขนมปังสอดไส้กล้วยให้ดู โยทุกขั้นตอนจะขอตัวแทนออกมาร่วมทำด้วย ดังนี้

อุปกรณ์
1. กะทะ
2. ตะหลิว
3. จาน
4. มีด
5. เขียง
6. ขวดน้ำ

ส่วนผสม
1. ขนมปัง 1 แผ่น
2. ไข่ไก่ 1 ฟอง
3. กล้วยหอม 3 ชิ้น
4. น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา
5. นมข้นหวาน 1 ช้อนชา
6. น้ำมันพืช 2 ถ้วย

ขั้นตอนการทำขนมปัง
1. นำขนมปังมาตัดขอบ แล้วนำใช้ขวดน้ำมารีดขนมปังให้เป็นแผ่นบางๆ
2. นำกล้วยหอมมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ ก่อนนำมาใส่ขนมปัง 3-4 ชิ้นต่อแผ่น
3. นำขนมปังมาชุบไข่ แล้วนำไปทอดกับนำ้มันร้อนๆ
4. ทอดให้ขนมปังมีสีเหลืองนวล แล้วตักขึ้นมาพักไว้
5. นำขนมปังมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่จาน แล้วราดน้ำตาลทรายขาวกับนมข้นหวาน

      จากนั้นแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม ทำกิจกรรมดังนี้ โดยให้แต่ละกลุ่มวนกันไปทำให้ครบทุกกิจกรรม

กลุ่มที่ 1 ตัดขอบขนมปัง
ตัดขอบขนมปังทั้ง 4 ด้านออก แล้วนำขวดน้ำมารับขนมปังให้บางๆ



กลุ่มที่ 2 ตัดกระดาษ
นำกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัสมาทาบกับจานกระดาษ ใช้ดินสอวาดตามขอบจานกระดาษเป็นวงกลม จากนั้นใช้กรรไกรตัดกระดาษตามรอย



กลุ่มที่ 3 หั่นกล้วยหอม
หั่นกล้วยหอมออกเป็น 2 ส่วน แล้วหั่นอีกครึ่งหนึ่ง แล้วก็หั่นอีกครึ่งหนึ่ง จนเป็นชิ้นบางๆ แล้วนำกล้วยมาวางบนขนมปัง 4 ชิ้น จากนั้นพับครึ่งขนมปังแล้วกดขอบขนมปังให้แน่น



กลุ่มที่ 4 ขนมปังชุบไข่
นำขนมปังที่พับแน่นแล้วมาชุบไข่ให้ทั่ว


จากนั้นนำขนมปังที่ชุบไข่ไปทอดในกระทะ


กลุ่มที่ 5 
หั่นขนมปังเป็นชิ้นเล็ก แล้วราดน้ำตาลและนมข้นหวานตามต้องการ



บรรยายในห้องเรียน






การบูรณาการ
วิทยาศาสตร์ : การแปลงสีของขนมปัง
คณิตศาสตร์ : รูปทรง จำนวนชิ้นขนมปัง
สังคม : การทำงานร่วมกัน

ศัพท์
จาน - dish
มีด - knife
กะทะ - pan
ไข่ไก่ - egg
กล้วยหอม - Banana

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้จากกิจกรรมวันนี้ไปใช้ในการสอนหรือทำกิจกรรมในอนาคตได้

การประเมิน
     วันนี้ทุกคนสนุกและได้ความรู้จากกิจกรรมได้เยอะมาก และได้ประสบการณ์การทำอะไรใหม่ที่เรามองข้ามไป