Melody CodeMouse

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สื่อการสอน

สื่อการสอน

ความแข็งของวัสดุ คุณครูอาทิตยา นุราฤทธิ์ รร.อนุบาลปรินายก
  โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วัสดุในชีวิตประจำวัน ซึ่งจำแนกได้เป็นวัสดุธรรมชาติ และวัสดุสังเคราะห์ สมบัติของวัสดุในด้านความแข็ง และการใช้ประโยชน์ โดยศึกษาด้วยการใช้วิธีการสืบสอบ รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และการใช้คำถาม และประเมินตามสภาพจริง

งานวิจัย

งานวิจัย















บันทึกการเรียน ครั้งที่ 17

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 17
ชดเชย วันจันทร์ ที่ 28 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.00 - 16.30 น.

เนื้อหาการเรียน
      วันนี้อาจารย์ให้กลุ่มที่เหลือสอนหน่วยการเรียนของกลุ่มตนเอง ดังนี้
วันศุกร์ หน่วยดอกไม้ เรื่องโทษ
วันอังคาร หน่วยอากาศรอบตัวฉัน เรื่องคุณสมบัติของอากาศ
วันพุธ หน่วยยานพาหนะ เรื่องปัจจัยการเคลื่อนที่





คำศัพท์
ดอกไม้ - Flower
อากาศ - Air
ปัจจัย - factor
ยานพหนะ - vehicle
วัน - Day

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้ที่ได้จากการแนะนำของอาจารย์ในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้

การประเมิน
      ความรู้จากคำแนะนำของอาจารย์เยอะมาก


บทความ

บทความ

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
       วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
       เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
         วิทยาศาสตร์หมายถึงการสืบค้นและอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ สภาพแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ หรือวิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ โดยได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีขั้นตอนและมีระเบียบแบบแผน ความรู้ของข้อมูลต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานและข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นจากการค้นพบใหม่ที่เป็นปัจจุบันและที่ดีกว่าคือ ตัวอย่างและข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สามารถทดสอบได้ มีขอบเขต มีระเบียบกฎเกณฑ์ มีการสังเกตการจดบันทึกการตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ วิทยาศาสตร์มีขอบข่ายการศึกษาค่อนข้างกว้างขวาง แต่โดยสรุปแล้วก็คือ การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งอาศัยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนเป็นระเบียบแบบแผนตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์พยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจและอธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา อันได้แก่ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่การกำหนดหลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏี อันเป็นรากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ศึกษาธรรมชาติและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แล้วสรุปเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ศึกษาความธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงาน จนได้มาเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นต้น
            Katz and Chard  อธิบายวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ว่า ทำให้เกิดความรู้ ทักษะต่างๆ การจัดการและ ความรู้สึก ความรู้ประกอบด้วย ความคิด ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดและสารสนเทศ ทักษะประกอบด้วย พฤติกรรมทางร่างกาย สังคม การสื่อสารและการแสดงออกทางปัญญาเช่น การเล่นและการทำงานคนเดียวหรือกับคนอื่นๆ การแสดงความคิดผ่านภาษาโดยการพูดและการเขียน การจัดการกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะนิสัยการทำงานด้วยความอดทน ความอยากรู้อยากเห็น การลงมือแสวงหาความรู้ด้วยการทดลองตามที่ได้วางแผนไว้ สนับสนุนให้ได้มาซึ่งความรู้ อัญชลี ไสยวรรณ(2547 :1-6 )กล่าวเพิ่มเติมว่ากิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกันเพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16
วันอังคาร ที่ 22 พฟศจิกายน 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
        อาจารย์ให้นั่งตามกลุ่มของเล่น จากนั้นตั้งประเด็นคำถามว่าของเล่นของแต่ละกลุ่ม ในแต่ละขั้นเกี่ยวข้องยังไงกับชีวิตประจำวันได้บ้าง นำคุณสมบัติมาใช้อะไรได้บ้าง จากนั้นเริ่มวิธีการสอน ถ้าสอนเด็กจะต้องทำอะไรก่อนหลัง  โดยสังแรกต้องให้สังเกตอุปกรณ์ จากนั้นครูตั้งสมมุติฐาน ประเด็นปัญหา และเริ่มกิจกรรม

คำศัพท์
อาจารย์ - professor
เด็ก - child
ครู - teacher
คุณสมบัติ - property
สังเกต - observe

การนำไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำการเรียนการสอนในวันนี้ ไปปรับใช้ในอนาคตได้

การประเมิน
      วันนี้ทุกคนต้องใจเรียนดี สามารถตอบคำถามได้ดี

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15
วันอังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
          วันนี้อาจารย์ให้สอนกิจกรรมตามหน่วยของกลุ่มตนเองที่ได้เลือกมาตามวัน ดังนี้
วันจันทร์ หน่วยผลไม้ ประเภทของผลไม้ คือแบ่งประเภทของผลไม้
วันอังคาร หน่วยไข่ ลักษณะของไข่  คือสังเกตส่วนประกอบของไข่
วันพุธ หน่วยต้นไม้ คุณสมบัติของต้นไม้ คือปลูกถั่วเขียว
วันพฤหัสบดี หน่วยปลา ประโยชน์ของปลา คือทำ cooking








คำศัพท์
ปลา - fish
ต้นไม้ - tree
ผลไม้ - fruit
การปรุงอาหาร - cooking
ถั่วเขียว - Green beans

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนทำและคำแนะนำของอาจารย์ในวันนี้ ไปใช้ปรับ ดัดแปลงในการเรียนการสอนในอนาคตได้

การประเมิน
      วันนี้สนุกและได้ความรู้จากกิจกรรมที่เพื่อนนำมามากมาย