Melody CodeMouse

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 20 กันยายน 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
       วันนี้เรียนเกี่ยวกับเรื่องเสียง โดยเริ่มเรียนอาจารย์ทบทวนเรื่องอากาศเกี่ยวกับลมและแสง โดยถ้าอยากให้เด็กได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้จริงๆ ต้องส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างเต็มที่ จากนั้นอาจารย์ให้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์รายบุคคล และก็สิ่งประดิษฐ์ที่แต่ละกลุ่มเตรียมมา โดยงานเดี่ยวของดิฉันทำไก่กระต๊าก ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนวันนี้ คือ เรื่องเสียงนั่นเอง และงานกลุ่มของดิฉัน คือ กล้องส่องสะท้อน จากนั้นอาจารย์ให้ให้ทำกิจกรรม ดังนี้


                                                

       กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องของคลื่น



        กิจกรรมนี้เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง เมื่อน้ำตกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ได้เรื่องแรงดันอากาศ คือ เมื่อมีฝั่งหนึ่งสูง แล้วอีกฝั่งหนึ่งต่ำลง อากาศจะดันน้ำฝั่งที่ต่ำไหลพุ่งออกมาเป็นน้ำพุอย่างในภาพ


         จากกิจกกรมนี้ จะทราบน้ำทั้งสองฝั่งมีปริมาณที่จุอยู่ภายในเท่ากัน และมีระดับเท่ากัน


             จากกิจกรรมนี้ ถ้าเห็นความแตกต่าง จะทำให้เกิดความคิด จากดอกไม้กระดาษที่บานเร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับการตัดและการพับของแต่ละคนด้วย

                                                                    ไก่กระต๊าก


อุปกรณ์                
1. ถ้วยกระดาษ
2. เชือก
3. ไม้เสียบลูกชิ้น
4. ฟองน้ำ
5. คัตเตอร์


ขั้นตอนการทำ
1. เจาะรูตรงกลางที่ก้นของถ้วยกระดาษ 1 รู



2. ตัดเชือกประมาณ 2 ฟุต แล้วผูกปลายเชือกที่เศษไม้ประมาณ 2 ซม. ที่ตัดไว้ แล้วสอดเชือกฝ่ายที่ยังไม่ผูกไม้เข้าไปที่รูกลางก้นแก้วที่เจาะไว้

 


3. ผูกปลายเชือกอีกด้านกับไม้ เป็นอันเสร็จ


 วิธีการเล่น
      ชุบฟองน้ำพอหมาดๆ แล้วถูกเชือกเป็นจังหวะเสียงไก่ขันตามจังหวะของเรา ซึ่งของเล่นชิ้นนี้ มีวิธีการง่ายๆ  กับอุปกรณ์ก็หาได้ไม่ยากสำหรับประดิษฐ์ของเล่นชิ้นนี้ยังให้ความรู้ฟิสิกส์อีกด้วย
ไก่กระต๊ากเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
       "ไก่กระต๊าก" เป็นของเล่นที่ประดิษฐ์จากแก้วกระดาษและเชือกผูกกลางถ้วยสำหรับใช้ฟองน้ำถูให้เกิดเสียงไก่ขันที่ดังคล้ายเสียงไก่ร้อง "กระต๊าก" โดยเสียงที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการสั่นสะเทือนของเชือกที่ถูกขัดถูเสียดสีกัน ของเล่นชิ้นนี้อาจจะไม่เห็นบ่อยนัก แต่มีหลักการทำง่ายๆ สามารถนำไปใช้สอนเด็กในเรื่องการกำเนิดสียงได้

การบูรณาการไก่กระต๊ากกับการเรียนรู้แบบ STEM
  STEM คือ เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
Science (วิทยาศาสตร์) = การสั่นกระเทือน การเสียดสี
Technology (เทคโนโลยี) = ขั้นตอนการทำไก่กระต๊าก
Engineering (วิศวะ) = การออกแบบลวดลายข้างแก้วกระดาษ
Mathematics (คณิตศาสตร์) = รูปทรง ขนาด ความยาว จำนวน

กล้องส่องสะท้อนภาพ

อุปกรณ์



                                        1.คัตเตอร์                     7.กระป๋องพริงเกิลส์
                                       2.กรรไกร                      8.ไขควง
                                       3.กาว                          9.ค้อน
                                       4.กล่องลัง                    10.ปากเมจิ
                                       5.แผ่นใส่                     11.ไม้บรรทัด
                                       6.กระดาษสีดำ              12.กระดาษสีสดใส

วิธีการทำ
ขั้นตอนที่ 1
นำกล่องลังมาวัดขนาด หนึ่งช่อง กว้าง 5 ซม. ยาว 20 ซม. แบ่งเป็นสามช่อง เท่าๆกัน แล้วตัดออกเป็นสามชิ้น




ขั้นตอนที่ 2
นำกระดาษสีดำและแผ่นใสมาวัดขนาด หนึ่งช่อง กว้าง 5 ซม. ยาว 20 ซม. แบ่งเป็นสามช่อง เท่าๆกัน แล้วตัดออกเป็นสามชิ้นเหมือนกล่องลัง




ขั้นตอนที่ 3
ท่ากาวลงที่กล่องลัง แล้วนำกระดาษสีดำมาติดไว้หนึ่งด้านทั้งสามแผ่น


ขั้นตอนที่ 4
นำแผ่นใสมาวางทับกระดาษสีดำ(ไม่ต้องติดกาว) เป็นสามชุด


ขั้นตอนที่ 5 
นำมาใส่ในกระป๋องพริงเกิลส์ทีละชุดจนครบทั้งสามชุด จะได้เป็นรูปสามเหลี่ยม


                                      


ขั้นตอนที่ 6
- นำฝาพริงเกิลส์มาวางบนแผ่นใสแล้วตีเส้นตามเป็นวงกลม 
- ตีเส้นปะวงในห่างจากวงนอกครึ่งเซนติเมตร 
- ตัดตามเส้นปะที่อยู่ข้างใน





ขั้นตอนที่ 7 
นำมาแผ่นใสวงกลมที่ตัดแล้ววางไว้ในกระป๋องที่เตรียมไว้


ขั้นตอนที่ 8
นำรูปภาพหรือ เศษกระดาษสีๆมาวางไว้บนแผ่นใส แล้วปิดฝากระป๋อง


ขั้นตอนที่ 9 
ตกแต่งกระป๋องตามใจชอบ โดยการนำเอากระดาษสีสดใสมาตกแต่ง



ขั้นตอนที่ 10
นำไขควงมาเจาะรูที่ก้นกระป๋อง รูไม่ต้องใหญ่มาก



วิธีเล่น
 ส่องดูตรงรูที่ก้นกระป๋องแล้วค่อยๆหมุน จะเห็นการสะท้อนของสิ่งของเป็นรูปต่างๆ หลายรูป




คณิตศาสตร์
- การวัดขนาดของกระดาษ รูปทรงของกระดาษ และกระป่อง ชิ้นส่วนของชิ้นงาน
เทคโนโลยี
- ขั้นตอนในการทำ
ภาษา
- การสื่อสาร
วิทยาศาสตร์
- การเล่นของเล่นชิ้นนี้ทำให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของแสง สีต่างๆ และการสะท้อนแสง และยังป็นของเล่นที่สามารถทำเองได้เพื่อใช้ในการเรียนรู้
- เมื่อแสงเดินทางมากระทบวัตถุแสงจะสะท้อนกลับไปยังตัวกลางเรียกว่าการสะท้อน หรือหักเหเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางเรียกว่าการหักเห การสะท้อนของแสงทำให้เกิดมุมตกกระทบคือมุมที่แสงตกกระทบทำกับเส้นตั้งฉากกับกระจก และมุมสะท้อนคือมุมที่แสงสะท้อนทำกับเส้นตั้งฉากกับกระจก
กฎของการสะท้อนกล่าวว่า “เมื่อเกิดการสะท้อนแสงทุกครั้งมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ”

การจัดการเรียนการสอน
         อาจารย์นำสิ่งประดิษฐ์ที่เชื่อมโยงกับปัจจุบันมาปรับใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างสนุกสนาน และให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจให้ได้มาที่สุด

ศัพท์
แรงดันอากาศ - Air pressure
แรงโน้มถ่วง - gravity
คลื่น - wave
เสียง - sound
น้ำ - water
ความคิด - thought

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำกิจกรรมในวันนี้ไปปรับใช้กับกิจกรรม การทดลองของตนเองได้

การประเมิน
     บรรยากาศการเรียนวันนี้มีตึงเครียดเล็กน้อย เนื่องจากตอบคำถามสิ่งประดิษฐ์ไม่ได้ เตรียมเนื้อหาของสิ่งประดิษฐ์ไม่ดีมากพอและไม่ครอบคลุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น