Melody CodeMouse

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 20 กันยายน 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
       วันนี้เรียนเกี่ยวกับเรื่องเสียง โดยเริ่มเรียนอาจารย์ทบทวนเรื่องอากาศเกี่ยวกับลมและแสง โดยถ้าอยากให้เด็กได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้จริงๆ ต้องส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างเต็มที่ จากนั้นอาจารย์ให้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์รายบุคคล และก็สิ่งประดิษฐ์ที่แต่ละกลุ่มเตรียมมา โดยงานเดี่ยวของดิฉันทำไก่กระต๊าก ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนวันนี้ คือ เรื่องเสียงนั่นเอง และงานกลุ่มของดิฉัน คือ กล้องส่องสะท้อน จากนั้นอาจารย์ให้ให้ทำกิจกรรม ดังนี้


                                                

       กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องของคลื่น



        กิจกรรมนี้เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง เมื่อน้ำตกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ได้เรื่องแรงดันอากาศ คือ เมื่อมีฝั่งหนึ่งสูง แล้วอีกฝั่งหนึ่งต่ำลง อากาศจะดันน้ำฝั่งที่ต่ำไหลพุ่งออกมาเป็นน้ำพุอย่างในภาพ


         จากกิจกกรมนี้ จะทราบน้ำทั้งสองฝั่งมีปริมาณที่จุอยู่ภายในเท่ากัน และมีระดับเท่ากัน


             จากกิจกรรมนี้ ถ้าเห็นความแตกต่าง จะทำให้เกิดความคิด จากดอกไม้กระดาษที่บานเร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับการตัดและการพับของแต่ละคนด้วย

                                                                    ไก่กระต๊าก


อุปกรณ์                
1. ถ้วยกระดาษ
2. เชือก
3. ไม้เสียบลูกชิ้น
4. ฟองน้ำ
5. คัตเตอร์


ขั้นตอนการทำ
1. เจาะรูตรงกลางที่ก้นของถ้วยกระดาษ 1 รู



2. ตัดเชือกประมาณ 2 ฟุต แล้วผูกปลายเชือกที่เศษไม้ประมาณ 2 ซม. ที่ตัดไว้ แล้วสอดเชือกฝ่ายที่ยังไม่ผูกไม้เข้าไปที่รูกลางก้นแก้วที่เจาะไว้

 


3. ผูกปลายเชือกอีกด้านกับไม้ เป็นอันเสร็จ


 วิธีการเล่น
      ชุบฟองน้ำพอหมาดๆ แล้วถูกเชือกเป็นจังหวะเสียงไก่ขันตามจังหวะของเรา ซึ่งของเล่นชิ้นนี้ มีวิธีการง่ายๆ  กับอุปกรณ์ก็หาได้ไม่ยากสำหรับประดิษฐ์ของเล่นชิ้นนี้ยังให้ความรู้ฟิสิกส์อีกด้วย
ไก่กระต๊ากเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
       "ไก่กระต๊าก" เป็นของเล่นที่ประดิษฐ์จากแก้วกระดาษและเชือกผูกกลางถ้วยสำหรับใช้ฟองน้ำถูให้เกิดเสียงไก่ขันที่ดังคล้ายเสียงไก่ร้อง "กระต๊าก" โดยเสียงที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการสั่นสะเทือนของเชือกที่ถูกขัดถูเสียดสีกัน ของเล่นชิ้นนี้อาจจะไม่เห็นบ่อยนัก แต่มีหลักการทำง่ายๆ สามารถนำไปใช้สอนเด็กในเรื่องการกำเนิดสียงได้

การบูรณาการไก่กระต๊ากกับการเรียนรู้แบบ STEM
  STEM คือ เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
Science (วิทยาศาสตร์) = การสั่นกระเทือน การเสียดสี
Technology (เทคโนโลยี) = ขั้นตอนการทำไก่กระต๊าก
Engineering (วิศวะ) = การออกแบบลวดลายข้างแก้วกระดาษ
Mathematics (คณิตศาสตร์) = รูปทรง ขนาด ความยาว จำนวน

กล้องส่องสะท้อนภาพ

อุปกรณ์



                                        1.คัตเตอร์                     7.กระป๋องพริงเกิลส์
                                       2.กรรไกร                      8.ไขควง
                                       3.กาว                          9.ค้อน
                                       4.กล่องลัง                    10.ปากเมจิ
                                       5.แผ่นใส่                     11.ไม้บรรทัด
                                       6.กระดาษสีดำ              12.กระดาษสีสดใส

วิธีการทำ
ขั้นตอนที่ 1
นำกล่องลังมาวัดขนาด หนึ่งช่อง กว้าง 5 ซม. ยาว 20 ซม. แบ่งเป็นสามช่อง เท่าๆกัน แล้วตัดออกเป็นสามชิ้น




ขั้นตอนที่ 2
นำกระดาษสีดำและแผ่นใสมาวัดขนาด หนึ่งช่อง กว้าง 5 ซม. ยาว 20 ซม. แบ่งเป็นสามช่อง เท่าๆกัน แล้วตัดออกเป็นสามชิ้นเหมือนกล่องลัง




ขั้นตอนที่ 3
ท่ากาวลงที่กล่องลัง แล้วนำกระดาษสีดำมาติดไว้หนึ่งด้านทั้งสามแผ่น


ขั้นตอนที่ 4
นำแผ่นใสมาวางทับกระดาษสีดำ(ไม่ต้องติดกาว) เป็นสามชุด


ขั้นตอนที่ 5 
นำมาใส่ในกระป๋องพริงเกิลส์ทีละชุดจนครบทั้งสามชุด จะได้เป็นรูปสามเหลี่ยม


                                      


ขั้นตอนที่ 6
- นำฝาพริงเกิลส์มาวางบนแผ่นใสแล้วตีเส้นตามเป็นวงกลม 
- ตีเส้นปะวงในห่างจากวงนอกครึ่งเซนติเมตร 
- ตัดตามเส้นปะที่อยู่ข้างใน





ขั้นตอนที่ 7 
นำมาแผ่นใสวงกลมที่ตัดแล้ววางไว้ในกระป๋องที่เตรียมไว้


ขั้นตอนที่ 8
นำรูปภาพหรือ เศษกระดาษสีๆมาวางไว้บนแผ่นใส แล้วปิดฝากระป๋อง


ขั้นตอนที่ 9 
ตกแต่งกระป๋องตามใจชอบ โดยการนำเอากระดาษสีสดใสมาตกแต่ง



ขั้นตอนที่ 10
นำไขควงมาเจาะรูที่ก้นกระป๋อง รูไม่ต้องใหญ่มาก



วิธีเล่น
 ส่องดูตรงรูที่ก้นกระป๋องแล้วค่อยๆหมุน จะเห็นการสะท้อนของสิ่งของเป็นรูปต่างๆ หลายรูป




คณิตศาสตร์
- การวัดขนาดของกระดาษ รูปทรงของกระดาษ และกระป่อง ชิ้นส่วนของชิ้นงาน
เทคโนโลยี
- ขั้นตอนในการทำ
ภาษา
- การสื่อสาร
วิทยาศาสตร์
- การเล่นของเล่นชิ้นนี้ทำให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของแสง สีต่างๆ และการสะท้อนแสง และยังป็นของเล่นที่สามารถทำเองได้เพื่อใช้ในการเรียนรู้
- เมื่อแสงเดินทางมากระทบวัตถุแสงจะสะท้อนกลับไปยังตัวกลางเรียกว่าการสะท้อน หรือหักเหเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางเรียกว่าการหักเห การสะท้อนของแสงทำให้เกิดมุมตกกระทบคือมุมที่แสงตกกระทบทำกับเส้นตั้งฉากกับกระจก และมุมสะท้อนคือมุมที่แสงสะท้อนทำกับเส้นตั้งฉากกับกระจก
กฎของการสะท้อนกล่าวว่า “เมื่อเกิดการสะท้อนแสงทุกครั้งมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ”

การจัดการเรียนการสอน
         อาจารย์นำสิ่งประดิษฐ์ที่เชื่อมโยงกับปัจจุบันมาปรับใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างสนุกสนาน และให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจให้ได้มาที่สุด

ศัพท์
แรงดันอากาศ - Air pressure
แรงโน้มถ่วง - gravity
คลื่น - wave
เสียง - sound
น้ำ - water
ความคิด - thought

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำกิจกรรมในวันนี้ไปปรับใช้กับกิจกรรม การทดลองของตนเองได้

การประเมิน
     บรรยากาศการเรียนวันนี้มีตึงเครียดเล็กน้อย เนื่องจากตอบคำถามสิ่งประดิษฐ์ไม่ได้ เตรียมเนื้อหาของสิ่งประดิษฐ์ไม่ดีมากพอและไม่ครอบคลุม

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6
วันอังคาร ที่ 13 กันยายน 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

หมายเหตุ : ลาป่วย

เนื้อหาที่เรียนวันนี้
         วันนี้เรียนเกี่ยวกับเรื่องแสง และดูสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับเรื่องของแสง

มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนไหว
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ศัพท์
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ - natural environment
ดาราศาสตร์ - astronomy
แสง - light
อวกาศ - space
เทคโนโลยี - Technology

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันอังคาร ที่ 6 กันยายน 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
         วันนี้อาจารย์ให้ดูวีดีโอ สนุกกับอากาศมหัศจรรย์ โดยมีเนื้อหาดังนี้
        อากาศ คือ อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา
กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ หรือหมุนกังหันลมได้
        ลม คือ กระแสอากาศที่เคลื่อนที่ในแนวนอน ส่วนกระแสอากาศคือ อากาศที่เคลื่อนที่ในแนวตั้ง การเรียกชื่อลมนั้นเรียกตามทิศทางที่ลมนั้นๆ พัดมา เช่น ลมที่พัดมาจากทิศเหนือเรียกว่า ลมเหนือ และลมที่พัดมาจากทิศใต้เรียกว่า ลมใต้ เป็นต้น ในละติจูดต่ำไม่สามารถจะคำนวณหาความเร็วลม แต่ในละติจูดสูงสามารถคำนวณหาความเร็วลมได้
         ซึ่งอากาศนั้น มีทั้งความร้อนและความเย็น
         แรงดันอากาศ หมายถึง แรงที่อากาศกดลงบนผิวของวัตถุในทุกทิศทาง
         แรงต้านของอากาศ (Air resistance force) คือแรงที่อากาศต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุแรงต้านของอากาศจะมีขนาดแปรโดยตรงกับอัตราเร็วของวัตถุยกกำลังต่าง ๆ และมีทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ 
          จากนั้นนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเล่นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ โดยดิฉันเลือกทำไก่กระต๊าก



การจัดการเรียนการสอน
        วีดีโอสนุกกับอากาศมหัศจจรย์

ศัพท์
    แรงต้านของอากาศ - Air resistance force
    แรงดันอากาศ - Air pressure
    กระแสอากาศ - airstream
    ทิศทาง - direction
    การเคลื่อนที่ - movement

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำการเรียนวันนี้ไปปรับใช้ทำสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับเรื่องเรื่องแสง และลมได้

การประเมิน
     วันนี้ได้ความรู้จากวีดีโอเยอะมาก

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4
วันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรียน
         วันนี้เริ่มการเรียนด้วยการคัดพยัญชนะไทย 44 ตัว จากนั้นเริ่มบทเรียนการเรียนการสอน เกี่ยวกับเรื่องของอากาศ คือ อากาศคืออะไร สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างไร
          ลม คือ เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากกาศ
          อากาศ คือ สสารตัวหนึ่งที่เรามองไม่เห็น
          โดยถ้าอยากให้เด็กเรียนรู้ได้นั้น ต้องปล่อยเด็กเรียนรู้เองอย่างอิสระ เนื่องจากธรรมชาติของเด็ก เกิดจากพัฒนาการของเด็ก และการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คน ทำกิจกรรมเรื่องอากาศ ประดิษฐ์ของเล่นทำอย่างไรให้ลอยในอากาศได้
   อุปกรณ์
1. กระดาษแข็ง A4
2. คลิป 1 ตัว
            โดยกลุ่มของดิฉันเลือกทำนก จาการปรึกษาและลงมติกันในกลุ่ม


                                     


การจัดการเรียนการสอน
      ครูให้นักศึกษาสามารถโต้ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้

ศัพท์
นก - Bird
อากาศ - Air
ลม - wind
ธรรมชาติ - wildlife
การเคลื่อนไหว - Motion

การนำไปประยุกต์ใช้
        สามารถนำกิจกกรมที่ได้เรียนวันนี้ไปจัดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้

การประเมิน
       การเรียนวันนี้สนุกตรงที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของอากาศกับลม